วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

ความหมายของคำถวายผ้ากฐิน

คำถวายกฐินต่อที่ประชุมสงฆ์  มีคำว่า อิมํ สปริวารํ กฐินจีวร ทุสสํ งฺฆสฺ โอโณชยาม  แปลว่า ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระสงฆ์  ท่านทั้งหลายจงสังเกตคำว่า สปริวารํ  ซึ่งแปลว่า กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ มีอุปกรณ์ต่าง ๆ  เช่น ผ้าหม่พระประทาน บาตรพร้อมด้วยบริขาร ร่ม รองเท้า ย่าม พัดรอง มุ้ง หมอน เสื่อ ผ้าห่ม ปิ่นโต กาน้ำ เลื่อย ขวาน สิ่ว กบ ค้อน ปัจจัยสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงบริวารของกฐินไม่ใช่เป็นตัวกฐินที่แท้จริงแต่อย่างใด หัวใจของกฐิน คือ ผ้า 3 ผืน  คือ จีวร  สบง  สังฆาฏิ  ผืนใดผืนหนึ่ง หนึ่งในไตรจีวร ถ้ามากกว่านี้เป็น อดิเรกจีวร หรือผ้าส่วนเกินเท่านั้น
            ดั้งนั้นการถวายผ้ากฐิน  เป็นการนำผ้ามาถวายแก่พระสงฆ์ในเขตที่กำหนดไว้เท่านั้นเลยเวลาไปไม่ได้  ที่กล่าวมาคิดว่าท่านผู้สนใจในการทอดกฐินทั้งหลายคงจะได้เข้าใจได้ว่าวัดที่จะรับกฐินได้จะต้องมีพระอยู่จำพรรษาจำนวน 5 รูปหรือ 5 รูปขึ้นไป จึงจะเป็นกฐิน และจะต้องรับกฐินที่อาวาสของตัวเองเท่านั้นจึงจะถูกต้อง พระรูปเดียวที่จำพรรษาอยู่ในอาวาสหนึ่งอาวาสใด ถ้ารับกฐินก็จะเรียกว่ารับกฐินไม่ได้ เพราะว่าไม่ครบองค์สงฆ์  หรือมีการทอดกฐินกันจำนวนร้อยวัดแต่กับไปถวายอยู่วัดเดียว โดยให้พระที่จำพรรษามารับที่วัดอื่นอันมิใช่อาวาสที่จำพรรษาของตัวเองยิ่งผิด ผ้าเป็นนิสัคคีย์  พระที่ใช้ผ้าเป็นอาบัติปาจิตตีย์  อนิสงส์กฐินไม่ขึ้นเป็นแต่เพียงผ้าป่า  แต่ก็ผิดพุทธานุญาตผิดวัตถุประสงค์  ขอให้ท่านสาธุชนทั้งหลายพึงสังเกตให้ดี และเพื่อให้เกิดความเข้าใจ  จะอ้างว่าเป็นประเทศปลายแดนไม่ได้  ถ้าเป็นผ้าป่าได้ก็ไม่เสียหายอะไร  เพียงแต่ทำให้ถูกต้องตามพุทธประสงค์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเราก็บริสุทธิ์แล้ว

จากหนังสือ  กฐิน วัดป่าเจริญราชธรรมาราม  รวบรวมและเรียบเรียงโดย วีรนนฺโท ภิกขุ