วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ช่วงปีใหม่ ขอเชิญชวนผู้รักบุญทุกท่าน ถวายผ้าไตรจีวรแด่พระภิกษุสงฆ์

อานิสงส์แห่งบุญ ถวายผ้าไตรจีวรแด่พระภิกษุสงฆ์

         จะได้รับอานิสงส์ที่ยิ่งใหญ่ จะเป็นผู้ที่พร้อมด้วยเสื้อผ้า อาภรณ์ และเครื่องประดับ มีแต่ผู้คนให้ความเคารพยกย่อง มีเกียรติ เป็นที่ยอมรับของคนทุกหมู่เหล่าเมื่อใดก็ตามจะต้องพบกับความมีอุปสรรค อุปสรรคนั้นจะผ่านพ้นไปด้วยดี ภยันตรายอื่นๆ อย่างสัตว์มีพิษและของมีคมต่างๆ ก็ทำร้ายไม่ได้ อานิสงส์ที่จะเกิดขึ้นในชาติหน้า จะเกิดมาเป็นผู้ที่มีความเพียบพร้อมด้วยหน้าตาที่งดงาม และสติปัญญาที่น่านับถืออย่างยิ่ง..

ชุดผ้าไตรจีวร ผ้ามัสลิน (ไตรใหญ่ สีแก่นขนุน 9 ขันธ์) ตัดเย็บถูกต้องตามพระวินัย (สายพระป่า)


ชุดผ้าไตรจีวร ผ้ามัสลิน (ไตรใหญ่สีแก่นขนุน) ตัดเย็บถูกต้องตามพระวินัย

ประกอบด้วย

1. สังฆาฏิ 2 ชั้น  (ผ้ามัสลิน 9 ขันธ์)

2. จีวร (ผ้ามัสลิน 9 ขันธ์)

3. สบงขันธ์

4. อังสะ (ผ้ามัสลิน)

5. ผ้ารัดอก (ผ้ามัสลิน)

6. ประคดไหม

7. ผ้ารับประเคน


ราคาแบ่งตามขนาดความสูงของพระสงฆ์

ขนาด 180 ซม. x 320 ซม.     =     3,750 บาท

ขนาด 190 ซม. x 320 ซม.     =     3,800 บาท

ขนาด 200 ซม. x 320 ซม.     =     3,900 บาท

ขนาด 210 ซม. x 320 ซม.     =     4,000 บาท

ขนาด 220 ซม. x 320 ซม.     =     4,200 บาท


จีวรนั้นมีขนาดคล้ายกับเสื้อผ้าทั่วไปที่ต้องมีขนาดเหมาะสมกับผู้สวมใส่จึงจะรู้สึกสบายความสูงของพระภิกษุกับขนาดของจีวร

พระภิกษุที่สูงไม่เกิน 160 ซม. ควรใช้ขนาดความสูง 190 ซม. กว้าง 320 ซม.
พระภิกษุที่สูง 160 - 170 ซม. ควรใช้ขนาดความสูง 200 ซม. กว้าง 320 ซม.
พระภิกษุที่สูง 170 - 180 ซม. ควรใช้ขนาดความสูง 210 ซม. กว้าง 320 ซม.
พระภิกษุที่สูง 180 ซม.ขึ้นไปหรือมีรูปร่างสูงใหญ่ ควรใช้ขนาดความสูง 220 ซม. กว้าง 320 ซม.
***ถ้าท่านต้องการถวายพระภิกษุโดยไม่เจาะจง แนะนำให้เลือกขนาดความสูง 200 กว้าง 320 ซม. หรือ 210 x 320 เป็นมาตรฐาน***



มลทิพย์.......ขอเสนอสินค้าระดับ   พรีเมี่ยมไว้บริการท่าน
สินค้าทุกชิ้นผ่านการคัดสรรอย่างประณีต โดยเฉพาะ ไตร จีวร
ซึ่งตัดเย็บถูกหลักพระวินัย  และเลือกใช้เนื้อผ้าอย่างดี คือ ผ้ามัสลิน
ซึ่งผ้ามัสลินเป็นผ้าฝ้ายแท้ 100 %  เนื้อผ้าละเอียด นุ่ม เบา บาง
ระบายอากาศได้ดี ทิ้งตัวไม่ยับง่าย จึงเหมาะแก่การนำมาตัดเย็บจีวร
 อีกทั้งยังเป็นผ้าที่สามารถนำกลับมาย้อมใหม่ได้

มลทิพย์ อัฐบริขาร ผ้าไตรจีวร สังฆภัณฑ์ และชุดสังฆทาน 


สนใจสั่งซื้อผ้าไตรจีวร ตัดเย็บถูกต้องตามหลักพระวินัย เครื่องสังฆภัณฑ์ โทร.08-9559-8771

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร 
สยามินทราธิรา บรมนาถบพิตร ขอพระองค์ทรงพระเจริญ 
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ 
ข้าพระพุทธเจ้า มลทิพย์


วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

มลทิพย์ แนะนำวิธีการเลือกซื้อผ้าไตรจีวร เพื่อจะนำไปถวายวัดต่างๆ ในประเทศไทย


ก่อนอื่น ผู้รักในบุญทุกท่านต้องทราบก่อนว่า วัดที่ท่านจะนำผ้าไตรอันปราณีตซึ่งได้จัดเตรียมไว้อย่างดีแล้วน้้น จะนำไปถวายพระภิกษุสงฆ์สังกัดนิกายใด   เพราะการทราบนิกายจะทำให้ท่านผู้รักในบุญทราบได้ว่า พระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษา อยู่ที่วัดดังกล่าวห่มจีวรสีอะไร  จากนั้นก็เทียบจากรายละเอียดด้านล่างนะค่ะ


รายชื่อวัดและนิกายในประเทศไทย    แนะนำให้ Download ลงที่เครื่องคอมพิวเตอร์ค่ะ เนื่องจากไฟล์มีจำนวนหลายหน้า ค่อย Ctrl + F เพื่อค้นหาวัดใน File PDF.

วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ประเภทของกฐิน

กฐินมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ในเมืองไทยทุกวันนี้ ดังนี้
1.      กฐินหลวง  คือ  กฐินที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินทอดถวาย ณ พระอารามหลวงที่กำหนดไว้เป็นกรณีพิเศษปัจจุบันมีอยู่  16 วัด เช่น วัดอรุณราชวราราม วัดเบญจมบพิตร วัดสระเกศ วัดสุทัศนเทพวราราม วัดบวรนิเวศวิหาร วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
2.      กฐินต้น  คือ  คือกฐินที่พระเจ้าแผนดินทรงมีพระราชศรัทธาพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินทอดถวายตามพระอารามที่ทรงพอพระราชหฤทัย โดยจะเป็นพระอารามหลวง หรือ ราษฎ์ก็สุดแล้วแต่พระราชอัธยาศัย
3.      กฐินพระราชทาน  คือ  กฐินที่พระเจ้าแผ่นดินทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชบริพาร หรือหน่วยงานราชการต่าง ๆ นำไปทอดถวาย ณ พระอารามหลางต่าง ๆ แทนพระองค์ เช่น วัดอนงคาราม วัดกัลยาณมิตร เป็นต้น
4.      กฐินราษฎร์  คือ  กฐินที่ราษฎ์จัดเป็นการส่วนตัว หรือ เป็นหมู่คณะ และนำไปถวายตามวัดต่าง ๆ ในกรุงเทพ และต่างจังหวัด และวัดนั้นเป็นวัดที่ราษฎร์สร้างขึ้น

จากหนังสือ  กฐิน วัดป่าเจริญราชธรรมาราม  รวบรวมและเรียบเรียงโดย :  วีรนนฺโท ภิกขุ

มลทิพย์ ขอละประเภทของกฐินไว้แค่นี้ก่อน แล้วจะมาต่อในวันต่อไป ค่ะ….

วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

กฐินนั้นสำคัญไฉน

          กฐินมีความสำคัญเนื่องจากการทอดผ้ากฐินนั้นต้องทำให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด คือ ภายใน 1 เดือนหลังจากออกพรรษาตามพระบรมพุทธานุญาตที่โปรดให้ทำเป็นการสงฆ์โดยเฉพาะ  และเป็นวินัยกรรม คือ พระผู้จะรับกฐินนั้นจะไปแนะ หรือขอให้ใครมาทอดแก่ตนเองไม่ได้จะไปกำหนดชนิดผ้าก็ไม่ได้  บอกจำนวนไม่ได้ และการทอดผ้ากฐินนั้นมีอานิสงส์มากมายทั้งผู้รับ และผ้ทอดตามที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น

            คำว่า กฐิน  เป็นภาษาบาลี  แต่เราเอามาเรียกมาใช้จนคุ้นเคยกลายเป็นภาษาไทย พอพูดถึงคำว่ากฐินเป็นอันว่าเข้าใจกัน กฐิน หรือ กฐินะ คำนี้เป็นชื่อไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับขึงผ้า เป็นสี่เหลี่ยมขึงผ้าให้ตึง  เพื่อเย็บทำเป็นจีวร  แบบสมัยโบราณที่เครื่องปักถักร้อยยังไม่มี ท่านเรียกไม้ชนิดนี้ว่า ไม้สะดึง  ปัจจุบันโลกและสังคมคนเจริญ เทคโนโลยีสมัยใหม่เครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ พัฒนาขึ้น ไม้ชนิดนี้ก็เลยหมดความจำเป็นและพลอยละลายหายไปกับยุคสมัย แต่เดิมที่การทำจีวรพระต้องหาผ้ามาเอง เย็บเอง ย้อมเองหมด มีความลำบากมาก กว่าจะได้ผ้าแต่ละผืน ต่างกับเดี๋ยวนี้อยากได้ผ้าก็สะดวกสบาย ทำให้ทุกวันนี้พระตัดเย็บย้อมจีวรเองไม่เป็น…..


จากหนังสือ  กฐิน วัดป่าเจริญราชธรรมาราม  รวบรวมและเรียบเรียงโดย วีรนนฺโท ภิกขุ

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เทิดพระเกียรติสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เจริญ "100" พระชันษา


เพลงสังฆราชบูชา (Sangharaja Praise for his 100th Birthday )



คำร้อง : ฐิตวํโสภิกขุ ปทุมวนาราม
ทำนอง : รัชต์พงษ์ สมศรี (ภู ศิษย์มาวิตต์)
เรียบเรียง : เจษฎา สุขทรามร
ศิลปิน : ธนพร แวกประยู

วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อานิสงส์ของผู้ทอดถวายผ้ากฐิน

1.      กิติสัทโท  เป็นผู้มีชื่อเสียงฟุ้งขจรขจายไปทั่วสารทิศ

2.      ได้ชื่อว่าเป็นผู้สืบอายุพระพุทธศาสนา ถวายกำลังแก่สมณะสงฆ์ผู้ดำรงพระศาสนา

3.      ได้สงเคราะห์พระสงฆ์ตามพระวินัยนิยมบรมพุทธานุญาต

4.      เป็นการรักษาประเพณีที่ดีงามไว้มิให้เสื่อมสูญ

5.      เป็นการบูชาพุทธโอวาทของพระบรมศาสดา

6.      ได้ชื่อว่าบำเพ็ญมหาทาน

7.      เป็นปัตตานุโมทนามัย

8.      ทำทรัพย์และชีวิตให้มีสาระ

9.      เป็นการสร้างความสามัคคีในระหว่างพุทธบริษัท

10.  เป็นการสั่งสมทุน  คือ  บุญกุศล  ไว้ในภายภาคหน้า

11.  เป็นการสร้างทางไปสวรรค์และนิพพานให้แก่ตนเอง

สืบเนื่องจากกฐินมีอานิสงส์มากมายเช่นนี้  พุทธศาสนิกชนจึงนิยมทอดผ้ากฐินกันเป็นประจำ  อันยอดบุญยอดกุศล ที่โบราณถือว่าเกิดทั้งทีต้องมีโอกาสทำกฐินให้มีให้ได้ในชีวิตหนึ่ง


จากหนังสือ  กฐิน วัดป่าเจริญราชธรรมาราม  รวบรวมและเรียบเรียงโดย วีรนนฺโท ภิกขุ

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

ธงชัย หรือเครื่องหมายของพระอรหันต์







จีวร ถือว่าเป็นธงชัย หรือเครื่องหมายของพระอรหันต์ มีหลักฐานปรากฏในพระคัมภีร์
อุบาลีเถราปทาน ว่า 

“บุคคลเห็นผ้ากาสาวพัสตร์ที่ (แม้) เปื้อนอุจจาระที่ถูกทิ้งไว้ตามถนนหนทาง ก็ควรประนมมือไหว้ผ้านั้น อันเป็นธงชัยของพระอริยเจ้า ด้วยเศียรเกล้า”



"งามจริงดังทองห่อหุ้มกายา  เครื่องหมายปัญญาของผู้เห็นภัยในสังสาร

ผ้าปลอดกังวล  จากเครื่องพันธนาการ"

 

ไทยธรรมที่ถวายในกฐิน

ไทยธรรม คือ เครื่องที่ใช้เป็นบริขารสำหรับถวายเป็นบริวารของกฐิน  ในครั้งพุทธกาล ไม่ปรากฏว่ามีผู้รู้บางท่านมุ่งประโยชน์พระวินัยโดยตรง  จึงนำแต่ผ้าไปถวายเท่านั้น เมื่อเสร็จแล้วจึงไปจัดการฉลองกาลท่านภายหลัง แต่บัดนี้เป็นที่นิยมกันทั่วไปว่าการทอดถวายกฐิน จะต้องมีบริวารบริขารด้วย จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับศรัทธาของผู้ถวาย หรือบางทีก็เป็นปัจจัย เพื่อที่จะได้นำไปก่อสร้างซ่อมแซมให้พอแก่การใช้ประโยชน์

บริขารมีดังนี้

-          ผ้าไตร

-          ผ้าหม่พระพุทธรูปที่เป็นพระประธานและพระสาวก

-          บาตรพร้อมด้วยถลกฝาและเชิง

-          เข็ม ด้าย มีดโกน หินลับมีด กระบอกกรองน้ำ (ธัมการก)

-          พัดรอง

-          ผ้าห่มนอน

-          สำรับคาวหวาน

-          น้ำเย็น น้ำร้อน

-          กระโถน

-          เทียนสำหรับจุดสวดปาติโมกข์ตลอดปี 25 เล่ม ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองหนใช้ 26 เล่ม

-          หมอน

-          มุ่ง

-          เสื่อหรือพรม

-          ยาบำบัดโรค

-          เครื่องเหล็ก  เช่น เลื่อย ขวาน สิ่ว กบ ค้อน

ส่วนพระคู่สวด และพระอันดับจะจัดถวายอย่างไร ก็ไม่มีกำหนดตามแต่ศรัทธาจะถวาย เมื่อนิยมว่ามีบริขารเป็นบริวารแล้วนั้น ก็มีทั้งส่วนที่เป็นลหุภัณฑ์ ทั้งส่วนที่เป็นครุภัณฑ์ ส่วนลหุภัณฑ์นั้นไม่มีปัญหายุ่งยากอะไร เพราะมีพระบรมพุทธานุญาตให้สงฆ์แจกกันได้ เมื่อสงฆ์แจกไปแล้วก็ตกเป็นของบุคคลไปตามจำนวน ส่วนครุภัณฑ์นั้นมีปัญหามากเพราะมีพระวินัยห้ามไว้ไม่ให้แจกกัน (เป็นอวิชชิยฺสล สละแจกไม่ได้  อเวภงฺคิย แจกไม่ได้แม้แจกไปแล้วก็ไม่เป็นอันแจก ถ้าขืนแจกก็เป็นอาบัติมีโทษแก่ทัน

จากหนังสือ  กฐิน วัดป่าเจริญราชธรรมาราม  รวบรวมและเรียบเรียงโดย วีรนนฺโท ภิกขุ


วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

ความหมายของคำถวายผ้ากฐิน

            อานิสงส์กฐิน  หมายถึง  ผล หรือประโยชน์ที่พึงได้รับจากการรับกฐิน และกรานกฐิน เมื่อพระภิกษุได้กรานกฐินถูกต้องแล้ว ได้ทรงลดหย่อนพระวินัยให้เป็นประโยชน์พิเศษ สำหรับอานิสงส์การกรานกฐิน 5 อย่าง ดังนี้ คือ

1.      อนามนฺตจาโร           เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา ตามสิกขาบทที่ 1 แห่งอเจลกวรรค

2.      อสมาทานจาโร         เที่ยวไปไม่ต้องเอาผ้าไตรจีวรไปครบสำรับ

3.      คณโภชนัง               ฉันคณโภชน์ได้ (นั่งล้อมวงฉันได้)

4.      ยาวตฺถ  ติเรกจีวรัง     เก็บอติเรกจีวรได้ไว้ตามปรารถนา

5.      โย จ ตตฺถ จีวรุปปาโท โส เนสัง ภวิสฺสติ            มีสิทธิในจีวรที่เกิดในที่นั้น เป็นของควรได้แก่พระภิกษุผู้กรานกฐิน  และต้องได้รับฉันทานุมัติจากหมู่สงฆ์ในที่นั้น  ให้เป็นผู้รับและครองผ้าได้ ทั้งได้โอกาสขยายจีวรกาลออกไปได้อีกรวมเป็น 4 เดือน ตลอดเหมันต์ฤดู


จากหนังสือ  กฐิน วัดป่าเจริญราชธรรมาราม  รวบรวมและเรียบเรียงโดย วีรนนฺโท ภิกขุ


วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

ความหมายของคำถวายผ้ากฐิน

คำถวายกฐินต่อที่ประชุมสงฆ์  มีคำว่า อิมํ สปริวารํ กฐินจีวร ทุสสํ งฺฆสฺ โอโณชยาม  แปลว่า ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระสงฆ์  ท่านทั้งหลายจงสังเกตคำว่า สปริวารํ  ซึ่งแปลว่า กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ มีอุปกรณ์ต่าง ๆ  เช่น ผ้าหม่พระประทาน บาตรพร้อมด้วยบริขาร ร่ม รองเท้า ย่าม พัดรอง มุ้ง หมอน เสื่อ ผ้าห่ม ปิ่นโต กาน้ำ เลื่อย ขวาน สิ่ว กบ ค้อน ปัจจัยสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงบริวารของกฐินไม่ใช่เป็นตัวกฐินที่แท้จริงแต่อย่างใด หัวใจของกฐิน คือ ผ้า 3 ผืน  คือ จีวร  สบง  สังฆาฏิ  ผืนใดผืนหนึ่ง หนึ่งในไตรจีวร ถ้ามากกว่านี้เป็น อดิเรกจีวร หรือผ้าส่วนเกินเท่านั้น
            ดั้งนั้นการถวายผ้ากฐิน  เป็นการนำผ้ามาถวายแก่พระสงฆ์ในเขตที่กำหนดไว้เท่านั้นเลยเวลาไปไม่ได้  ที่กล่าวมาคิดว่าท่านผู้สนใจในการทอดกฐินทั้งหลายคงจะได้เข้าใจได้ว่าวัดที่จะรับกฐินได้จะต้องมีพระอยู่จำพรรษาจำนวน 5 รูปหรือ 5 รูปขึ้นไป จึงจะเป็นกฐิน และจะต้องรับกฐินที่อาวาสของตัวเองเท่านั้นจึงจะถูกต้อง พระรูปเดียวที่จำพรรษาอยู่ในอาวาสหนึ่งอาวาสใด ถ้ารับกฐินก็จะเรียกว่ารับกฐินไม่ได้ เพราะว่าไม่ครบองค์สงฆ์  หรือมีการทอดกฐินกันจำนวนร้อยวัดแต่กับไปถวายอยู่วัดเดียว โดยให้พระที่จำพรรษามารับที่วัดอื่นอันมิใช่อาวาสที่จำพรรษาของตัวเองยิ่งผิด ผ้าเป็นนิสัคคีย์  พระที่ใช้ผ้าเป็นอาบัติปาจิตตีย์  อนิสงส์กฐินไม่ขึ้นเป็นแต่เพียงผ้าป่า  แต่ก็ผิดพุทธานุญาตผิดวัตถุประสงค์  ขอให้ท่านสาธุชนทั้งหลายพึงสังเกตให้ดี และเพื่อให้เกิดความเข้าใจ  จะอ้างว่าเป็นประเทศปลายแดนไม่ได้  ถ้าเป็นผ้าป่าได้ก็ไม่เสียหายอะไร  เพียงแต่ทำให้ถูกต้องตามพุทธประสงค์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเราก็บริสุทธิ์แล้ว

จากหนังสือ  กฐิน วัดป่าเจริญราชธรรมาราม  รวบรวมและเรียบเรียงโดย วีรนนฺโท ภิกขุ


วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

มูลเหตุแห่งการทอดกฐิน

            มีเรื่องกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกว่า ในครั้งหนึ่งมีภิกษุจากเมืองปาฐารัฐ (ปาไถยรัฐ) จำนวนสามสิบรูปได้เดินทางมาเพื่อจะเข้าเฝ้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี แต่เมื่อเดินทางมาถึงเมืองสาเกต ก็เข้าฤดูฝนพอดี จึงต้องหยุดพักจำพรรษาอยู่ที่นั้น การเดินทางด้วยเท้าไม่มีพาหนะอื่น จึงทำให้การเดินทางของพระภิกษุทั้ง 30 รูป เดินทางได้ช้า จึงไม่สามารถไปเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทัน ครั้นเมื่อออกพรรษาแล้วก็รีบเดินทางต่อไปยังเมืองสาวัตถีทันที ในระยะทางประมาณ 6 โยชน์ (ประมาณ 6 กิโลเมตรกว่า) แต่ก็ต้องกรำฝนทนแดดไปตลอดทาง ทำให้สบง จีวรต่างก็เปียกชุ่มโชกด้วยน้ำฝนไปตาม ๆ กัน บางท่านก็จีวรขาดทะลุ และเปรอะเปื้อนไปด้วยโคลนตม  เข้าไปเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
            เมื่อพระพุทธองค์ทรงเห็นความลำบากตรากตรำของพระภิกษุเหล่านั้น ต่อมาจึงเรียกประชุมสงฆ์ และยกเรื่องราวของพระภิกษุทั้ง 30 รูปเป็นเหตุ และทรงมีพระบรมพุทธานุญาตตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาว่าให้พระภิกษุที่จำพรรษาครบไตรมาสให้รับผ้ากฐินเสียก่อน ทั้งนี้เพราะว่าแม้ออกพรรษาแล้วก็ตาม ฝนก็ยังไม่หมดเสียทีเดียว ถ้าไม่มีความจำเป็นมากก็ให้อยู่รับผ้ากฐินเสียก่อนแล้วจึงเดินทางไปยังที่อื่น แล้วทรงกำหนดเวลาอันเป็นเขตของกฐินไว้ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 สามารถรับผ้ากฐินได้ถึงกลางเดือน 12  โดยความจริงแล้วเรื่องผ้ากฐินนั้นเป็นเรื่องของพระภิกษุสงฆ์อย่างเดียวในการทำผ้า เมื่อพระภิกษุได้ผ้ามาจากที่ต่าง ๆ แล้วนำมารวมกันเย็บให้เป็นผืนเดียวแล้วตกลงกันว่าจะมอบจีวรชุดนี้ให้แก่พระภิกษุรูปใด และยอมมอบให้แก่พระภิกษุผู้มีผ้าเก่าที่สุดนำไปใช้นุ่งห่ม  ในธรรมบทภาค 4 กล่าวว่าในครั้งพุทธกาลมีการประชุมใหญ่ในการทำผ้า  เมื่อครั้งพระอนุรุทธะได้ผ้าบังสกุลมา จะทำจีวรเปลี่ยนผ้าครองสำรับเก่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบ พร้อมด้วยพระภิกษุ 500 รูป เสด็จไปประทับเป็นประธานในวันนั้น  พระอสีติมหาสาวกก็ไปร่วมประชุมช่วยทำผ้ากฐิน พระมหากัสสปะนั่งอยู่ต้นผ้า  พระสารีบุตรนั่งอยู่ท่ามกลางผ้า พระอานนท์นั่งอยู่ปลายผ้า  พระภิกษุสงฆ์ช่วยกันกรอด้าย พระบรมศาสดาทรงสนเข็ม พระโมคัลลานะเป็นผู้อุดหนุนกิจทั้งปวง ประชาชนต่างนำสิ่งของไปถวาย เมื่อผ้าทำเสร็จแล้ว จึงประชุมสงฆ์ทำสังฆกรรมเกี่ยวกับผ้ากฐิน  ต่อมาด้วยเหตุการณ์ต่าง ๆ ของสังคมในอินเดียมีผู้ศรัทธานำผ้ากฐินมาถวาย  แต่ไมปรากฏนามว่าผู้ใดเป็นผู้ได้ถวายผ้ากฐินเป็นคนแรกที่พระพุทธเจ้าทรงมีพระบรมพุทธานุญาต

จากหนังสือ  กฐิน  รวบรวมและเรียบเรียงโดย : วีรนนโท ภิกขุ


มลทิพย์ อัฐบริขาร ผ้าไตรจีวร และ สังฆภัณฑ์

สนใจสั่งซื้อผ้าไตรจีวร ตัดเย็บถูกต้องตามหลักพระวินัย เครื่องสังฆภัณฑ์ โทร.08-9559-8771



วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

อานิสงฆ์การถวายสังฆทาน


ขายเบาะนั่งสมาธิ สองชั้นมีพนักพิง

อาสนะสองชั้นมีพนักพิงสำหรับผู้ที่รักการนั่งสมาธิ และปฏิบัติธรรม สะดวกในการนั่ง ทำให้สามารถนั่งได้นานขึ้น พกพาไปได้สะดวกทุกสถานที่ ที่ไปปฏิบัติธรรม และ พับเก็บได้..
ราคาสินค้า ฿ 2,250

รายละเอียดสินค้า 

อาสนะสองชั้นมีพนักพิง รุ่น Stainless 
เบาะหนังสีครีม ขนาด 54 cm *54 cm (~21 นิ้ว) 
นํ้าหนักเบา (2.5 kg) 
วัสดุเป็น PU Foam ไม่ยุบตัว

สนใจสามารถโทรศัพท์สั่งซื้อ หรือสอบถามได้ที่เบอร์ 08-9559-8771

หรือสั่งซื้อได้ที่  https://moltip.bentoweb.com/

https://www.facebook.com/Moltip.Attaborikan