วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556
วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2556
ประเภทของกฐิน
กฐินมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ในเมืองไทยทุกวันนี้
ดังนี้
1. กฐินหลวง คือ กฐินที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินทอดถวาย ณ พระอารามหลวงที่กำหนดไว้เป็นกรณีพิเศษปัจจุบันมีอยู่ 16 วัด เช่น วัดอรุณราชวราราม วัดเบญจมบพิตร วัดสระเกศ วัดสุทัศนเทพวราราม วัดบวรนิเวศวิหาร วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
2. กฐินต้น คือ คือกฐินที่พระเจ้าแผนดินทรงมีพระราชศรัทธาพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินทอดถวายตามพระอารามที่ทรงพอพระราชหฤทัย โดยจะเป็นพระอารามหลวง หรือ ราษฎ์ก็สุดแล้วแต่พระราชอัธยาศัย
3. กฐินพระราชทาน คือ กฐินที่พระเจ้าแผ่นดินทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชบริพาร หรือหน่วยงานราชการต่าง ๆ นำไปทอดถวาย ณ พระอารามหลางต่าง ๆ แทนพระองค์ เช่น วัดอนงคาราม วัดกัลยาณมิตร เป็นต้น
4. กฐินราษฎร์ คือ กฐินที่ราษฎ์จัดเป็นการส่วนตัว หรือ เป็นหมู่คณะ และนำไปถวายตามวัดต่าง ๆ ในกรุงเทพ และต่างจังหวัด และวัดนั้นเป็นวัดที่ราษฎร์สร้างขึ้น
จากหนังสือ กฐิน วัดป่าเจริญราชธรรมาราม รวบรวมและเรียบเรียงโดย : วีรนนฺโท ภิกขุ
มลทิพย์ ขอละประเภทของกฐินไว้แค่นี้ก่อน แล้วจะมาต่อในวันต่อไป ค่ะ….
1. กฐินหลวง คือ กฐินที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินทอดถวาย ณ พระอารามหลวงที่กำหนดไว้เป็นกรณีพิเศษปัจจุบันมีอยู่ 16 วัด เช่น วัดอรุณราชวราราม วัดเบญจมบพิตร วัดสระเกศ วัดสุทัศนเทพวราราม วัดบวรนิเวศวิหาร วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
2. กฐินต้น คือ คือกฐินที่พระเจ้าแผนดินทรงมีพระราชศรัทธาพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินทอดถวายตามพระอารามที่ทรงพอพระราชหฤทัย โดยจะเป็นพระอารามหลวง หรือ ราษฎ์ก็สุดแล้วแต่พระราชอัธยาศัย
3. กฐินพระราชทาน คือ กฐินที่พระเจ้าแผ่นดินทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชบริพาร หรือหน่วยงานราชการต่าง ๆ นำไปทอดถวาย ณ พระอารามหลางต่าง ๆ แทนพระองค์ เช่น วัดอนงคาราม วัดกัลยาณมิตร เป็นต้น
4. กฐินราษฎร์ คือ กฐินที่ราษฎ์จัดเป็นการส่วนตัว หรือ เป็นหมู่คณะ และนำไปถวายตามวัดต่าง ๆ ในกรุงเทพ และต่างจังหวัด และวัดนั้นเป็นวัดที่ราษฎร์สร้างขึ้น
จากหนังสือ กฐิน วัดป่าเจริญราชธรรมาราม รวบรวมและเรียบเรียงโดย : วีรนนฺโท ภิกขุ
มลทิพย์ ขอละประเภทของกฐินไว้แค่นี้ก่อน แล้วจะมาต่อในวันต่อไป ค่ะ….
วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556
กฐินนั้นสำคัญไฉน
กฐินมีความสำคัญเนื่องจากการทอดผ้ากฐินนั้นต้องทำให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
คือ ภายใน 1 เดือนหลังจากออกพรรษาตามพระบรมพุทธานุญาตที่โปรดให้ทำเป็นการสงฆ์โดยเฉพาะ และเป็นวินัยกรรม คือ
พระผู้จะรับกฐินนั้นจะไปแนะ หรือขอให้ใครมาทอดแก่ตนเองไม่ได้จะไปกำหนดชนิดผ้าก็ไม่ได้ บอกจำนวนไม่ได้ และการทอดผ้ากฐินนั้นมีอานิสงส์มากมายทั้งผู้รับ และผ้ทอดตามที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น
คำว่า
กฐิน เป็นภาษาบาลี
แต่เราเอามาเรียกมาใช้จนคุ้นเคยกลายเป็นภาษาไทย
พอพูดถึงคำว่ากฐินเป็นอันว่าเข้าใจกัน กฐิน หรือ กฐินะ คำนี้เป็นชื่อไม้ชนิดหนึ่ง
ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับขึงผ้า เป็นสี่เหลี่ยมขึงผ้าให้ตึง เพื่อเย็บทำเป็นจีวร แบบสมัยโบราณที่เครื่องปักถักร้อยยังไม่มี
ท่านเรียกไม้ชนิดนี้ว่า ไม้สะดึง ปัจจุบันโลกและสังคมคนเจริญ
เทคโนโลยีสมัยใหม่เครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ พัฒนาขึ้น
ไม้ชนิดนี้ก็เลยหมดความจำเป็นและพลอยละลายหายไปกับยุคสมัย
แต่เดิมที่การทำจีวรพระต้องหาผ้ามาเอง เย็บเอง ย้อมเองหมด มีความลำบากมาก กว่าจะได้ผ้าแต่ละผืน
ต่างกับเดี๋ยวนี้อยากได้ผ้าก็สะดวกสบาย
ทำให้ทุกวันนี้พระตัดเย็บย้อมจีวรเองไม่เป็น…..
จากหนังสือ กฐิน วัดป่าเจริญราชธรรมาราม รวบรวมและเรียบเรียงโดย : วีรนนฺโท ภิกขุ
วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556
เทิดพระเกียรติสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เจริญ "100" พระชันษา
เพลงสังฆราชบูชา (Sangharaja Praise for his 100th Birthday )
คำร้อง : ฐิตวํโสภิกขุ ปทุมวนาราม
ทำนอง : รัชต์พงษ์ สมศรี (ภู ศิษย์มาวิตต์)
เรียบเรียง : เจษฎา สุขทรามร
ศิลปิน : ธนพร แวกประยู
วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556
อานิสงส์ของผู้ทอดถวายผ้ากฐิน
1. กิติสัทโท
เป็นผู้มีชื่อเสียงฟุ้งขจรขจายไปทั่วสารทิศ
2. ได้ชื่อว่าเป็นผู้สืบอายุพระพุทธศาสนา
ถวายกำลังแก่สมณะสงฆ์ผู้ดำรงพระศาสนา
3. ได้สงเคราะห์พระสงฆ์ตามพระวินัยนิยมบรมพุทธานุญาต
4. เป็นการรักษาประเพณีที่ดีงามไว้มิให้เสื่อมสูญ
5. เป็นการบูชาพุทธโอวาทของพระบรมศาสดา
6. ได้ชื่อว่าบำเพ็ญมหาทาน
7. เป็นปัตตานุโมทนามัย
8. ทำทรัพย์และชีวิตให้มีสาระ
9. เป็นการสร้างความสามัคคีในระหว่างพุทธบริษัท
10. เป็นการสั่งสมทุน
คือ บุญกุศล ไว้ในภายภาคหน้า
11. เป็นการสร้างทางไปสวรรค์และนิพพานให้แก่ตนเอง
สืบเนื่องจากกฐินมีอานิสงส์มากมายเช่นนี้
พุทธศาสนิกชนจึงนิยมทอดผ้ากฐินกันเป็นประจำ อันยอดบุญยอดกุศล
ที่โบราณถือว่าเกิดทั้งทีต้องมีโอกาสทำกฐินให้มีให้ได้ในชีวิตหนึ่ง
จากหนังสือ
กฐิน วัดป่าเจริญราชธรรมาราม รวบรวมและเรียบเรียงโดย : วีรนนฺโท ภิกขุ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)